ห้อยพระอย่างไรให้ถูก "โฉลก"
คนเกิดปีชวด
วันอาทิตย์ เหมาะที่จะแขวนพระที่มีเมตตาเป็นหลัก ได้แก่ พระปิดตา
พระสิวลี พระสังกัจจายน์ ส่วนพระเครื่องเพื่อป้องกันตัวและเสริมการงาน
เนื่องจากเป็นผู้ที่มีรูปงามมีเสน่ห์ พระที่เหมาะควรเป็นพระที่มีอำนาจในตัว
ควรแขวนพระ ที่เป็นโลหะหรือผ่านธาตุไฟ เช่น พระกรุเนื้อชิน
พระเครื่องเนื้อโลหะหรือเหรียญ ไม่ควร จะเป็นพระที่เป็นเนื้อผง ถ้าเป็นเนื้อผง
ควรจะเลือกที่ผสมด้วยธาตุเหล็ก หรือผงตะไบเหล็กหรือโลหะเท่านั้น
หรือเป็นพระผงฝังตะกรุด
วันจันทร์ รูปสมบัติเป็นโภคทรัพย์ติดตัวมา จึงไม่ค่อยเดือดร้อนเรื่องการทำมาหากิน
ควรจะทำงานที่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะตัวจึงจะถูกโฉลก ควรแขวนพระที่คล้ายกับโฉลกงาน
เช่น พระทรงเครื่อง พระที่มีลวดลายประกอบอย่างงดงาม หรือพระพรหม พระพิฆเนศ
วันอังคาร ชีวิตมีแต่ความลำบาก ต้องฝ่าฟันอุปสรรคกว่าจะได้เงิน
ต้องระวังปากตัวเองให้มากที่สุด ควรแขวนพระไสยาสน์ หรือพระปางสมาธิ
เป็นเนื้อที่ผ่านไฟหรือไม่ก็ไม่เป็นไร เพราะพระทั้งสองปางหมายถึงความสงบระงับ
เมื่อเกิดความพลุ่งพล่านทุกครั้งให้เอามือกุมพระ จะเยือกเย็นลง
วันพุธ ชีวิตมีแต่ความเจ็บไข้จุกจิก
แม้ไม่อันตรายถึงชีวิตก็บั่นทอนร่างกายไปมาก เหมาะที่จะแขวนพระที่ทำจากต้นไม้ใบยา
เช่น พระว่าน พระขมิ้นเสก พระไพลเสก หรือพระที่มีส่วนผสมของตัวยาต่างๆ
พระเนื้อผงผสมว่านก็ใช้ได้ บางคนแขวนหมอชีวกโกมารภัจจ์ก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด
วันพฤหัสบดี เป็นผู้อุดมด้วยโภคทรัพย์ มีบุญเก่าอยู่มาก ทำให้ชีวิตไม่ล้มลุกคลุกคลานมากนัก
ไม่ค่อย รอบคอบในการตัดสินใจ ประมาทเป็นนิจ ทำให้พลาดเงินหรือ
เสียประโยชน์อันควรได้ไปอย่างน่าเสียดาย
ควรแขวนพระที่จะมารับหน้าพระอังคารที่เป็นใจคือ พระปางป่าเลไลยก์ พระราหูเนื้อผง
หรือเนื้อโลหะ เพราะพระราหูกับพระอังคารเป็นมหามิตรกัน จะรับหน้า
ทำให้พระอังคารไม่อาจมาเบียดเบียนดวงชะตาได้
วันศุกร์ มีดีทางด้านผู้รับใช้ใกล้ชิดจะเป็นคนดีมีศีลธรรม
แต่อยู่ด้วยไม่ได้นาน เพราะบางครั้งไม่ได้ตั้งใจแต่พูดไปโดยไม่คิด
ทำให้บริวารต้องจากไป ควรแขวนพระพิมพ์ที่มีพระอัครสาวกอยู่ซ้ายและขวา
เพราะพระพุทธองค์และพระสาวกนั้นหมายถึงการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาตามสายงาน
จะแก้โฉลกให้ดีได้
วันเสาร์ เป็นผู้มีอำนาจในตัว
มีดีที่คนเกรงขาม แต่มีข้อเสียชอบออกหน้าแทนลูกน้องหรือคนอื่น
จึงมักต้องเดือดร้อนแทนคนอื่นในแทบทุกเรื่อง ให้แขวนพระปางห้ามสมุทร
ยกพระหัตถ์ (มือ) สองข้าง ซึ่งจะแก้เคล็ดและทำให้ยับยั้งชั่งใจได้
ห้อยพระอย่างไรให้ถูก "โฉลก"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็นของคุณที่มีต่อบทความนี้....